วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

รายงานคะแนนเก็บ

























































กิจกรรม 4-7 มกราคม 2554

กิจกรรม 4 - 7 มกราคม 2554 คะแนน 160 คะแนน
สัปดาห์นี้เป็นช่วงสอบกลางภาค ขอให้นักเรียนทบทวนบทเรียน เคลียร์งานส่งให้เรียบร้อย อย่าลืมว่าจะปิดการส่งความคิดเห็นเพื่อส่งงานในวันที่ 7 มกราคม 2554 ผู้ใดไม่แจ้งการส่งถือว่าขาดการส่งงาน
- ให้ผู้เรียนอ่านทบทวนและบันทึกข้อสอบโดยลอกโจทย์และจดคำตอบที่ถูกต้องลงในสมุดงาน นับจำนวนข้อที่ได้บันทึกและนำส่งภายในชั่วโมงเรียน ห้องใดไม่ได้เรียนขอให้ทำนอกเวลาเช่นเดียวกัน
- บันทึกสรุปเนื้อหาที่สืบค้น ขระอ่านเตรียมสอบ บันทึกลงสมุด ส่งสมุดหลังจากสอบเสร็จ ทุกคน


ทำแล้วค่ะ

กิจกรรม 27-30 ธันวาคม 2553

กิจกรรม 27- 30 ธันวาคม 2553คะแนน 100 คะแนน
ประกาศด่วน จะปิดการส่งงานทุกรายการวันที่ 7 มกราคม 2554
ให้ผู้เรียนจัดเคลียร์งานเก่าที่คั่งค้างทั้งหมดและเตรียมตัวอ่านสอบ ข้อสอบจะอยู่ในขอบข่ายที่วิเคราะห์ข้อสอบทั้งหมด โดยมีแบบปรนัยจำนวน 22 ข้อ และอัตนัยจำนวน 2 ข้อ โดยให้นักเรียนบันทึกโจทย์ย่อๆและเฉลยข้อถููกลงในสมุดเพื่อนำไปอ่านสอบ งานใดที่สรุปลงสมุดแล้วก็ไม่ต้องบันทึกลงสมุด

ทำแล้วค่ะ

วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรม 14-18 กุมภาพันธ์ 2554 ข้อสอบ

ข้อสอบ เรื่องการเคลื่อนที่ และสนามแม่เหล็ก

1.การเคลื่อนที่ในแนววงกลมจะเกิดจะเกิดแรงชนิดใด
ก.แรงดึงดูดระหว่างวัตถุ
ข.แรงสู่ศูนย์กลาง
ค.แรงไฟฟ้า
ง.แรงเฉื่อย

เฉลยข้อ ข.
ที่มา http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/science04/109/unt12/test12.htm


2.ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
ก.ความเร่งของวัตถุมีค่าเป็นบวกเสมอ
ข.ความเร่งมีค่าเป็นลบ เพราะความเร็วลดลง
ค.ความเร่งมีค่าเป็นบวก เพราะความเร็วเพิ่มขึ้น
ง.ความเร่งที่มีค่าเป็นลบ เรียกว่า ความหน่วง

เฉลยข้อ ก.
ที่มา http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/science04/109/unt12/test12.htm

3.การแกว่งของสปริงในแนวราบโดยไม่คำนึงถึงแรงเสียดทานเป็นการเคลื่อนที่แบบใด
ก.โพรเจกไทล์
ข.ฮาร์มอนิกอย่างง่าย
ค.แนววงกลม
ง.ตกอย่างเสรี

เฉลยข้อ ข.
ที่มา http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/science04/109/unt12/test12.htm

4.สนามแม่เหล็กคืออะไร
ก. บริเวณรอบ ๆ แท่งแม่เหล็ก
ข. บริเวณใกล้ขั้วเหนือ และขั้วใต้ของแท่งแม่เหล็ก
ค. บริเวณระหว่างแท่งแม่เหล็กกับโลหะอื่นที่นำมาใกล้แม่เหล็ก
ง. บริเวณรอบ ๆ แท่งแม่เหล็กที่แม่เหล็กสามารถส่งอำนาจแม่เหล็กไปถึง

เฉลยข้อ ง.
ที่มา http://www.vajiravudh.ac.th/LearningZone/earthchanged/postest/answer1.htm

5.ขั้วแม่เหล็กคือบริเวณใดของแม่เหล็ก
ก.ปลายทั้งสองของแท่งแม่เหล็ก
ข.ตรงกลางแท่งแม่เหล็ก
ค.ตลอดแท่งแม่เหล็ก
ง.จากกึ่งกลางถึงปลายแต่ละข้าง

เฉลยข้อ ก.
ที่มา http://grade.mpp3.ac.th/elearning1/sci/..%5Csci%5Csec4%5Cphy%5Ccai%5Cemagnet/test1.html

วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรม 2 มกราคม 2554






สืบค้นข้อมูล ในทางฟิสิกส์ ความเร็ว คืออัตราการเปลี่ยนแปลงของตำแหน่งต่อหน่วยเวลา มีหน่วยเป็นเมตรต่อวินาที (m/s) ในหน่วยเอสไอ ความเร็วเป็นปริมาณเวกเตอร์ซึ่งประกอบด้วยอัตราเร็วและทิศทาง ขนาดของความเร็วคืออัตราเร็วซึ่งเป็นปริมาณสเกลาร์ ตัวอย่างเช่น "5 เมตรต่อวินาที" เป็นอัตราเร็ว ในขณะที่ "5 เมตรต่อวินาทีไปทางทิศตะวันออก" เป็นความเร็ว ความเร็วเฉลี่ย v ของวัตถุที่เคลื่อนที่ไปด้วยการกระจัดขนาดหนึ่ง ∆x ในช่วงเวลาหนึ่ง ∆t สามารถอธิบายได้ด้วยสูตรนี้
อัตราการเปลี่ยนแปลงของความเร็วคือความเร่ง คือการอธิบายว่าอัตราเร็วและทิศทางของวัตถุเปลี่ยนไปอย่างไรในช่วงเวลาหนึ่ง และเปลี่ยนไปอย่างไร ณ เวลาหนึ่ง
ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%A7
ตอบ 4

สืบค้นข้อมูล ความยาว คือมิติตามแนวยาวของวัตถุใด ๆ ความยาวของของสิ่งหนึ่งคือระยะทาง (หรือการกระจัด) จากจุดเริ่มต้นไปยังจุดสิ้นสุด ซึ่งเป็นการขยายเชิงเส้นตรงจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ความยาวอาจมีความหมายแยกออกจากความสูง ซึ่งเป็นการขยายตามแนวดิ่ง และความกว้าง ซึ่งเป็นระยะทางจากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง เช่นวัดจากมุมข้างซ้ายไปยังมุมข้างขวาผ่านวัตถุเป็นต้น ในทางวิทยาศาสตร์กายภาพและวิศวกรรม คำว่า ความยาว นี้มีความหมายเหมือนกับ ระยะทาง และย่อด้วยอักษร l หรือ L (แอล) หรือสัญลักษณ์คล้ายแอล ℓ
ความยาวเป็นการวัดในหนึ่งมิติ ในขณะที่พื้นที่เป็นการวัดในสองมิติ และปริมาตรเป็นการวัดในสามมิติ ในระบบการวัดส่วนใหญ่ หน่วยความยาวเป็นหน่วยวัดพื้นฐานสำหรับการนิยามหน่วยวัดอื่น ๆ

ตอบ 1

สืบค้นข้อมูล สนามไฟฟ้า (electric field) คือปริมาณซึ่งใช้บรรยายการที่ประจุไฟฟ้าทำให้เกิดแรงกระทำกับอนุภาคมีประจุภายในบริเวณโดยรอบ หน่วยของสนามไฟฟ้าคือ นิวตันต่อคูลอมบ์ หรือโวลต์ต่อเมตร (มีค่าเท่ากัน) สนามไฟฟ้านั้นประกอบขึ้นจากโฟตอนและมีพลังงานไฟฟ้าเก็บอยู่ ซึ่งขนาดของความหนาแน่นของพลังงานขึ้นกับกำลังสองของความหนานแน่นของสนาม ในกรณีของไฟฟ้าสถิต สนามไฟฟ้าประกอบขึ้นจากการแลกเปลี่ยนโฟตอนเสมือนระหว่างอนุภาคมีประจุ ส่วนในกรณีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านั้น สนามไฟฟ้าเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกับสนามแม่เหล็ก โดยมีการไหลของพลังงานจริง และประกอบขึ้นจากโฟตอนจริง
ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2
ตอบ 4

สืบค้นข้อมูล ความถี่ (อังกฤษ: frequency) คือปริมาณที่บ่งบอกจำนวนครั้งที่เหตุการณ์เกิดขึ้นในเวลาหนึ่ง การวัดความถี่สามารถทำได้โดยกำหนดช่วงเวลาคงที่ค่าหนึ่ง นับจำนวนครั้งที่เหตุการณ์เกิดขึ้น นำจำนวนครั้งหารด้วยระยะเวลา และ คาบ เป็นส่วนกลับของความถี่ หมายถึงเวลาที่ใช้ไปในการเคลื่อนที่ครบหนึ่งรอบ
ในระบบหน่วย SI หน่วยวัดความถี่คือเฮิรตซ์ (hertz) ซึ่งมาจากชื่อของนักฟิสิกส์ชาวเยอรมันชื่อ Heinrich Rudolf Hertz เหตุการณ์ที่มีความถี่หนึ่งเฮิรตซ์หมายถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหนึ่งครั้งทุกหนึ่งวินาที หน่วยอื่นๆ ที่นิยมใช้กับความถี่ได้แก่: รอบต่อวินาที หรือ รอบต่อนาที (rpm) (revolutions per minute) อัตราการเต้นของหัวใจใช้หน่วยวัดเป็นจำนวนครั้งต่อนาที
อีกหนึ่งวิธีที่ใช้วัดความถี่ของเหตุการณ์คือ การวัดระยะเวลาระหว่างการเกิดขึ้นแต่ละครั้ง (คาบ) ของเหตุการณ์นั้นๆ และคำนวณความถี่จากส่วนกลับของคาบเวลา:
เมื่อ T คือคาบ

ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%96%E0%B8%B5%E0%B9%88
ตอบ 1


สืบค้นข้อมูล ความยาวคลื่น คือระยะทางระหว่างส่วนที่ซ้ำกันของคลื่น สัญลักษณ์แทนความยาวคลื่นที่ใช้กันทั่วไปคือ อักษรกรีก แลมบ์ดา (λ).
สำหรับคลื่นรูปไซน์ ความยาวคลื่นมีค่าเท่ากับระยะห่างระหว่างยอดคลื่น:

แกนนอนในแผนภูมิแทนระยะทาง และแกนตั้งแทนค่า ณ เวลาหนึ่ง ของปริมาณหนึ่งซึ่งกำลังเปลี่ยนแปลง (ตัวอย่างเช่น สำหรับคลื่นเสียง ปริมาณที่กำลังเปลี่ยนแปลงก็คือแรงดันอากาศ หรือสำหรับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ปริมาณที่กำลังเปลี่ยนแปลงก็คือสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก) ซึ่งเป็นฟังก์ชันของระยะทาง
ความยาวคลื่น λ สัมพันธ์แบบผกผันกับความถี่ของคลื่นนั้น โดยความยาวคลื่นมีค่าเท่ากับความเร็วของคลื่นนั้นๆ หารด้วยความถี่ ถ้าเราพิจารณาคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในสุญญากาศ ความเร็วนั้นก็คือความเร็วแสงนั่นเอง ความสัมพันธ์นี้สามารถเขียนได้เป็น
เมื่อ:
λ = ความยาวคลื่น
c = ความเร็วแสงในสุญญากาศ ซึ่งมีค่าเท่ากับ 299,792.458 กิโลเมตรต่อวินาที
f = ความถี่ของคลื่น
สำหรับคลื่นวิทยุ ความสัมพันธ์นี้เขียนโดยประมาณได้เป็น: ความยาวคลื่น (ในหน่วยเมตร) = 300 / ความถี่ (ในหน่วย megahertz)
เมื่อคลื่นแสง (หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าใดๆ) เดินทางในตัวกลางใดที่ไม่ใช่สุญญากาศ ความยาวคลื่นจะลดลงด้วยอัตราส่วนเท่ากับดรรชนีหักเห n ของตัวกลางนั้น แต่ความถี่จะยังคงเท่าเดิม ความยาวคลื่นแสงในตัวกลางใดๆ สามารถเขียนได้เป็น
เมื่อ:
λ0 คือความยาวคลื่นในสุญญากาศ
ไม่ว่าคลื่นแสงจะเดินทางอยู่ในตัวกลางใด เมื่อเราอ้างถึงความยาวคลื่น มักหมายถึงความยาวคลื่นในสุญญากาศเสมอ
ตอบ 2



สืบค้นข้อมูล ในขณะที่วัตถุมีการเคลื่อนที่ ได้ระยะทางและการกระจัดในเวลาเดียวกัน และต้องใช้เวลาในการเคลื่อนที่ จึงทำให้เกิดปริมาณสัมพันธ์ขึ้น ปริมาณดังกล่าวคือ
อัตราเร็ว คือ ระยะทางที่วัตถุเคลื่อนที่ได้ในหนึ่งหน่วยเวลา จัดเป็นเปริมาณสเกลลาร์ หน่วยในระบบเอสไอ มีหน่วยเป็น เมตร/วินาที
ความเร็ว คือ ขนาดของการกระจัดที่วัตถุเคลื่อนที่ได้ในหนึ่งหน่วยเวลา จัดเป็นปริมาณเวกเตอร์ ใช้หน่วยเดียวกับอัตราเร็ว
สมการแสดงความสัมพันธ์ของอัตราเร็ว ระยะทาง และเวลาเป็นดังนี้
ให้ เป็นค่าอัตราเร็วหรือความเร็ว
เป็นระยะทางหรือการกระจัด
เป็นเวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่

ที่มา http://www.snr.ac.th/elearning/kosit/sec02p01.html
ตอบ 3




สืบค้นข้อมูล อัตราเร็ว การกระจัด หรือการขจัด ในทางฟิสิกส์ หมายถึงระยะห่างของการเคลื่อนที่จากจุดเริ่มต้นไปยังจุดสุดท้ายโดยจะมีลักษณะเป็นเส้นตรง ซึ่งจะเป็นระยะทางที่สั้นที่สุดระหว่างจุดสองจุดใด ๆ ในขณะที่เราเคลื่อนที่ เราจะเปลี่ยนตำแหน่งที่อยู่ตลอดแนว เช่น ขณะเราขับรถยนต์ไปตามท้องถนน เราจะเคลื่อนที่ผ่านถนน ถนนอาจเป็นทางตรง ทางโค้ง หรือหักเป็นมุมฉาก ระยะทางที่รถเคลื่อนที่อาจเป็นระยะทางตามตัวเลขที่ราบของการเคลื่อนที่ แต่หากบางครั้งเราจะพบว่า จุดปลายทางที่เราเดินทางห่างจากจุดต้นทางในแนวเส้นตรง หรือในแนวสายตาไม่มากนัก
ระยะทาง (distance) คือ ความยาวตามเส้นทางที่วัตถุเคลื่อนที่ไปได้ทั้งหมด เป็นปริมาณสเกลาร์ คือ มีแต่ขนาดอย่างเดียว มีหน่วยเป็นเมตร โดยทั่วไปเราใช้สัญลักษณ์ S
การกระจัด (displacement) คือ เส้นตรงที่เชื่อมโยงระหว่างจุดเริ่มต้น และจุดสุดท้ายของการเคลื่อนที่เป็นปริมาณเวกเตอร์ คือ ต้องคำนึงถึงทิศทางด้วย มีหน่วยเป็นเมตร โดยทั่วไปเขียนแบบเว็กเตอร์เป็น S
ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94
ตอบ 2



สืบค้นข้อมูล อัตราการเปลี่ยนแปลง (หรืออนุพันธ์เวลา) ของความเร็ว เป็นปริมาณเวกเตอร์ที่มีหน่วยเป็น ความยาว/เวลา² ในหน่วยเอสไอกำหนดให้หน่วยเป็น เมตร/วินาที²
เมื่อวัตถุมีความเร่งในช่วงเวลาหนึ่ง ความเร็วของมันจะเปลี่ยนแปลงไป ความเร่งอาจมีค่าเป็นบวกหรือลบก็ได้ ซึ่งเรามักว่าเรียกความเร่ง กับ ความหน่วง ตามลำดับ ความเร่งมีนิยามว่า "อัตราการเปลี่ยนแปลงความเร็วของวัตถุในช่วงเวลาหนึ่ง" และกำหนดโดยสมการนี้
เมื่อ
a คือ เวกเตอร์ความเร่ง
v คือ เวกเตอร์ความเร็ว ในหน่วย m/s
t คือ เวลา ในหน่วยวินาที
จากสมการนี้ a จะมีหน่วยเป็น m/s² (อ่านว่า "เมตรต่อวินาทียกกำลังสอง")
หรือเขียนเป็นอีกสมการได้
เมื่อ
คือ ความเร่งเฉลี่ย (m/s²)
คือ ความเร็วต้น (m/s)
คือ ความเร็วปลาย (m/s)
คือ ช่วงเวลา (s)

ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%87
ตอบ 3

สืบค้นข้อมูล ประจุไฟฟ้า เป็นคุณสมบัติพื้นฐานถาวรหนึ่งของอนุภาคซึ่งเล็กกว่าอะตอม (subatomic particle) เป็นคุณสมบัติที่กำหนดปฏิกิริยาแม่เหล็กไฟฟ้า สสารที่มีประจุไฟฟ้านั้นจะสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ในขณะเดียวกันก็จะได้รับผลกระทบจากสนามด้วยเช่นกัน ปฏิกิริยาตอบสนองระหว่างประจุ และ สนาม เป็นหนึ่งในสี่ ของแรงพื้นฐาน เรียกว่า แรงแม่เหล็กไฟฟ้า
ตอบ 3


สืบค้นข้อมูล ในทางฟิสิกส์ ความเร็ว คืออัตราการเปลี่ยนแปลงของตำแหน่งต่อหน่วยเวลา มีหน่วยเป็นเมตรต่อวินาที (m/s) ในหน่วยเอสไอ ความเร็วเป็นปริมาณเวกเตอร์ซึ่งประกอบด้วยอัตราเร็วและทิศทาง ขนาดของความเร็วคืออัตราเร็วซึ่งเป็นปริมาณสเกลาร์ ตัวอย่างเช่น "5 เมตรต่อวินาที" เป็นอัตราเร็ว ในขณะที่ "5 เมตรต่อวินาทีไปทางทิศตะวันออก" เป็นความเร็ว ความเร็วเฉลี่ย v ของวัตถุที่เคลื่อนที่ไปด้วยการกระจัดขนาดหนึ่ง ∆x ในช่วงเวลาหนึ่ง ∆t สามารถอธิบายได้ด้วยสูตรนี้
อัตราการเปลี่ยนแปลงของความเร็วคือความเร่ง คือการอธิบายว่าอัตราเร็วและทิศทางของวัตถุเปลี่ยนไปอย่างไรในช่วงเวลาหนึ่ง และเปลี่ยนไปอย่างไร ณ เวลาหนึ่ง
ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%A7
ตอบ 2

สืบค้นข้อมูล การเคลื่อนที่ของวัตถุตามแนวเส้นตรงในแนวดิ่งภายใต้แรงดึงดูดของโลกต่อวัตถุนั้น โดยมีทิศทางเข้าศูนย์กลางของโลก เมื่อวัตถุตกโดยเสรีแรงดึงดูดของโลกจะกระทำต่อวัตถุ ทำให้วัตถุมีความเร่งเนื่องจากความโน้มถ่วงของโลก (g)
เราสามารถวัดความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงได้จากเครื่องมือในภาพ โดยลูกเหล็กถูกดูดด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า เมื่อเปิดสวิตซ์แม่เหล็กและเปิดเครื่องจับเวลาพร้อมกัน ลูกเหล็กก็จะตกจากความสูงที่กำหนด และกระแทกเข้ากับส่วนที่หยุดเครื่องจับเวลา ผลที่ได้คือความเร่งเนื่องจากความโน้มถ่วงระดับพื้นผิวโลกมีค่า 9.8 เมตร/วินาที2 หรือประมาณ 10 เมตร/วินาที2 ซึ่งหมายความว่า แต่ละวินาทีที่วัตถุตกลงมาสู่พื้นโลกจะมีความเร็วเพิ่มขึ้นประมาณ 10 เมตร/วินาที
ที่มา http://www.neutron.rmutphysics.com/physics-glossary/index.php?option=com_content&task=view&id=1199&Itemid=60
ตอบ 1


สืบค้นข้อมูล การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ คือการเคลื่อนที่ในแนวโค้งพาราโบลา ซึ่งเกิดจากวัตถุได้รับความเร็วใน 2 แนวพร้อมกัน คือ ความเร็วในแนวราบและความเร็วในแนวดิ่ง ตัวอย่างของการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ ได้แก่ ดอกไม้ไฟ น้ำพุ การเคลื่อนที่ของลูกบอลที่ถูกเตะขึ้นจากพื้น การเคลื่อนที่ของนักกระโดดไกล สำหรับในบทเรียนนี้เราจะศึกษาในเรื่องลักษณะของการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ การคำนวณหาปริมาณที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่แบบโพรเจคไทด์ , โพรเจคไทด์ในแนวราบ , โพรเจกไทล์ในแนวดิ่ง หลังจากนั้นนักเรียนจะได้ทดสอบความเข้าใจกับแบบฝีกหัด และแบบทดสอบ
ตอบ 3