กิจกรรม 17 พฤศจิกายน 2553

ส่งงาน


สืบค้นข้อมูล ระบบสุริยะ คือ กลุ่มดาวกลุ่มหนึ่งใน กาแลกซี ทางช้างเผือก โดยมีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง และมีดาวเคราะห์ 9 ดวงเป็นบริวาร โคจรมารอบดวงอาทิตย์ โดยดาวเคราะห์ทั้งเก้าจะมีดวงจันทร์ที่โคจรรอบดาวเคราะห์ หรือไม่มีก็ได้ โดยดาวทั้งหมดจะได้รับแรงดึงดูดจากดวงอาทิตย์
การเกิดระบบสุริยะจักรวาล
ระบบสุริยะจักรวาลเกิดจากการหดตัวของกลุ่มก๊าซและฝุ่นภายใต้ความโน้มถ่วงของดาวระเบิดมีลักษณะหมุนเร็วขึ้นและมีการหมุนเป็นรูปวงรี โดยมีจุดศูนย์กลางคือดวงอาทิตย์
ดวงอาทิตย์ เป็นดาวฤกษ์ดวงหนึ่งที่มีแสงสว่างในตัวเอง มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.4 ล้านกิโลเมตร โดยดวงอาทิตย์เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มก๊าซ ไฮโดรเจนและฮีเลียม มีอุณหภูมิและความดันสูงมาก

(ภาพ แกน เส้นแรงแม่เหล็ก เขตพาความร้อน แทโคไลท์ และบ่วงสุริยะ)
องค์ประกอบระบบสุริยะจักรวาล
    ระบบสุริยะจักรวาล ประกอบด้วย
1. ดาวฤกษ์ เป็นดาวที่มีแสงสว่างในตัวเอง เกิดจากก๊าซที่มีการระเบิดอยู่ตลอกเวลา ให้พลังงานแสง และพลังงานความร้อน ได้แก่ ดวงอาทิตย์ กลุ่มดาวจักราศี ดาวเหนือ
2. ดาวเคราะห์ เป็นดาวที่ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง ต้องอาศัยแสง และพลังงานจากดวงอาทิตย์ โดยดาวฤกษ์จะมีทั้งหมด  9 ดวง จึงเรียกว่า “ ดาวพระเคราะห์” ประกอบด้วย
ดาวพุธ เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดจึงร้อนที่สุด ไม่มีดวงจันทร์เป็นบริวาร มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4850 กิโลเมตร อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 57.6 ล้านกิโลเมตร
ดาวศุกร์ เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์เป็นอันดับ 2 และมีสว่างมากที่สุดในยามค่ำคืนจึงเรียกดาวศุกร์ว่า “ ดาวประจำเมือง” ในช่วงเช้ามือ เราเรียกว่า “ ดาวประกายพรึก”ไม่มีดวงจันทร์เป็นบริวาร มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12032 กิโลเมตร อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 107.52 ล้านกิโลเมตร
โลก เป็นดาวเคราะห์ที่มีสิ่งมีชีวิต และมีดวงจันทร์เป็นบริวาร 1 ดวง อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์เป็นอันดับ 3 มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12739 กิโลเมตร อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 148.80 ล้านกิโลเมตร
ดาวอังคาร เป็นดาวเคราะห์ที่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 4 มีลักษณะใกล้เคียงกับโลก มีน้ำแข็งปกคลุมทั่วทั้งหมด มีไอน้ำ กลางวันดาวอังคารจะเย็นกว่าโลก เพราะอยู่ไกลดวงอาทิตย์มากกว่า ส่วนกลางคืนก็เย็นจัดกว่าโลก ดาวอังคารมีบริวาร 2 ดวง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6755 กิโลเมตร อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 225.60 ล้านกิโลเมตร
ดาวพฤหัสบดี เป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่และหนักกว่าดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ เป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 5 ประกอบด้วยกลุ่มก๊าซไฮโดรเจนและฮีเลียม มีดวงจันทร์ถึง 16 ดวง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 141968 กิโลเมตร อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 722.80 ล้านกิโลเมตร
ดาวเสาร์ เป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่เป็นอันดับสองรองจากดาวพฤหัส และเป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 6 เป็นดาวเคราะห์ที่สวยที่สุด เพราะมีวงแหวนซึ่งเป็นกลุ่มก้อนน้ำแข็งที่โคจรรอบดาวเสาร์ ดาวเสาร์จึงมีอากาศหนาวจัด มีดวงจันทร์เป็นบริวาลทั้งหมด 18 ดวง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 119296  กิโลเมตร อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 1417.6 ล้านกิโลเมตร
ดาวยูเรนัส  เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่ 7 นิยมเรียกว่า “ ดาวมฤตยู” มีดวงจันทร์ 5 ดวง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 52096  กิโลเมตร อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 2852.8 ล้านกิโลเมตร
ดาวเนปจูน เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่ 8 คนไทยเรียก “ ดาวเกตุ” มีดวงจันทร์ 8 ดวง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 48600  กิโลเมตร อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 4496.6 ล้านกิโลเมตร
ดาวพลูโต เป็นดาวเคราะห์ที่เล็กที่สุด มีดวงจันทร์เป็นบริวาร 1 ดาวพลูโต มีก้อนหิมะปกคลุม มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2284  กิโลเมตร อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 5865.6 ล้านกิโลเมตร
3. ดาวเคราะห์น้อย เป็นกลุ่มดาวที่มีขนาดเล็ก ที่โคจรอยู่รอบดวงอาทิตย์ มีปริมาณ 3 – 5 หมื่นดวง อยู่ระหว่างดาวอังคารกับดาวพฤหัส
4. ดาวหาง เป็นดาวที่มีรูปร่างเหมือน เปลวไฟเป็นหางยาว มีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์แน่นอนเช่นเดียวกับดาวเคราะห์และดาวเคราะห์น้อย ดาวหางประกอบด้วยก๊าซต่างๆ เปลวไฟที่เห็นเป็นทางก็คือก๊าซและสะเก็ดดาวที่ไหลเป็นทาง
(ภาพการเปรียบเทียบขนาดดาวต่าง ๆ ในระบบสุริยะจักรวาล)



สืบค้นข้อมูล องค์ประกอบหลักของดาวพฤหัสบดีคือ ก๊าซไนโตรเจนและก๊าซฮีเลียม ซึ่งเป็นองค์ประกอบประมาณ 75% และ 25% โดยมวลตามลำดับ นอกจากก๊าซสองชนิดหลักแล้วยังมีสารอื่นๆปะปนอยู่บ้างแต่มีปริมาณน้อยมาก การศึกษาธาตุองค์ประกอบของดาวพฤหัสบดีอย่างละเอียดชี้ให้เห็นว่า ดาวพฤหัสบดีมีปริมาณธาตุองค์ประกอบคล้ายกับดวงอาทิตย์มาก แสดงให้เห็นว่าดาวเคราะห์ก๊าซดวงนี้แทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบเลยตั้งแต่รวมตังขึ้นเมื่อหลายพันปีมาแล้ว
     เนื่องจากดาวพฤหัสบดีเป็นดาวเคราะห์ก๊าซ จึงไม่มีพื้นผิวแข็งที่ชัดเจนดังเช่นโลกหรือดาวเคราะห์แข็งอื่นๆ แต่เนื้อสารชั้นบนบริเวณผิวของดาวค่อยๆ เบาบางลงและหายไปในอวกาศ ในการศึกษาดาวพฤหัสบดี นักดาราศาสตร์จึงใช้ระดับที่มีความดัน 1 บาร์ ( เท่ากับความดันที่ผิวโลก ) ของบรรยากาศของดาวพฤหัสบดีเป็นรัศมีของดาว หากใช้นิยามนี้ ดาวพฤหัสบดีจะมีรัศมีประมาณ 70,000 กิโลเมตร ที่ระดับผิวดาวเป็นแนวยอดเมฆ ( Cloud Top ) ของดาวพฤหัสบดีซึ่งมีอุณหภูมิ -148 องศาเซลเซียล ( 125 เคลวิน ) และความหนาแน่นประมาณ 0.0002 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร

นอกจากไฮโดรเจนและฮีเลียมซึ่งเป็นองค์ประกอบเกือบทั้งหมดแล้ว บรรยากาศดาวพฤหัสบดียังมี มีเท แอมโมเนีย แอมโมเนียม ไฮโดรซัลไฟด์ และน้ำเป็นองค์ประกอบย่อย องค์ประกอบเหล่านี้ทำให้ดาวพฤหัสบดีปรากฏมีสีแดงเรื่อๆ ในบริเวณต่างๆอย่างที่เป็น เพราะหากดาวพฤหัสบดีมีเพียงไฮโดรเจนและฮีเลียม ดาวทั้งสองจะเป็นเพียงก้อนก๊าซยักษ์ไร้สีสัน บรรยากาศของดาวพฤหัสบดีมีลมพัดแรงทั้งดวง หลายบริเวณมีความเร็วสูงถึง 650 กิโลเมตร/ชั่วโมง ซึ่งเกิดจากการที่ดาวพฤหัสบดีหมุนรอบตัวเองในเวลาเพียง 10 ชั่วโมงเท่านั้น ( เมื่อเทียบกับขนาดมหึมาของดาวพฤหัสบดีแล้ว นับว่าเป็นความเร็วที่คล้ายกับการหมุนของลูกข่าง ) นอกจากนี้การหมุนที่รวดเร็วยังทำให้ดาวพฤหัสบดีมีลักษณะกลมแป้นคล้ายผลส้มคือ มีเส้นผ่าศูนย์กลางบริเวณศูนย์สูตรยาวกว่าบริเวณขั้วอย่างเห็นได้ชัด (เส้นผ่านศูนย์กลางที่ขั้วและที่เส้นศูนย์สูตร คือ 133,708 และ 142,984 กิโลเมตร ตามลำดับ)
ที่มา: http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/2549/prae/narerat/the_solar_system/jupiter.htm
ตอบ 2





สืบค้นข้อมูล  ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ศูนย์กลางของระบบสุริยะ เนื้อสารส่วนใหญ่ของระบบสุริยะอยู่ที่ดวงอาทิตย์ คือ มีมากถึง 99.87% เป็นมวลสารดาวเคราะห์รวมกันอย่างน้อยกว่า 0.13% ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ขนาดเล็ก เมื่อเทียบกับดาวฤกษ์อื่น ๆ บนฟ้า แต่เป็นดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้โลกที่สุด จึงปรากฏเป็นวงกลมโต บนฟ้าของโลกเพียงดวงเดียว ดาวฤกษ์อื่นปรากฎเป็นจุดสว่าง เพราะอยู่ไกลมาก ขนาดที่แท้จริงโตกว่าโลกมาก มีเส้นผ่านศูนย์กลางเกือบ 109 เท่าของโลก
  ดวงอาทิตย์สร้างพลังงานขึ้นมาเองโดยการเปลี่ยนเนื้อสารเป็นพลังงานตามสมการของไอน์สไตน์ E = mc2 (E คือพลังงาน, m คือ เนื้อสาร, และ c คือ อัตราเร็วของแสงสว่างในอวกาศซึ่งมีค่าประมาณ 300,000 กิโลเมตรต่อวินาที) บริเวณที่เนื้อสารกลายเป็นพลังงาน คือ แกนกลางซึ่งมีอุณหภูมิสูงถึง 15 ล้านองศาเซลเซียส ณ แกนกลางของดวงอาทิตย์มีระเบิดไฮโดรเจนจำนวนมาก กำลังระเบิดเป็นปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ ที่ไฮโดรเจนหลอมรวมกันกลายเป็นฮีเลียม ในแต่ละวินาทีไฮโดรเจนจำนวน 4 ล้านตันกลายเป็นพลังงาน ใน 1 ปีดวงอาทิตย์เมื่อเทียบกับมวลสารของดวงอาทิตย์ทั้งหมด 2 x 1027 ตัน หรือ 2,000 ล้านล้านล้านตัน หรือ 332,946 เท่าของโลก
  ที่ผิวของดวงอาทิตย์มีอุณหภูมิประมาณ 5,700 องศาเซลเซียส หรือประมาณ 6,000 เคลวิน ดวงอาทิตย์จึงถูกจัดเป็นดาวฤกษ์สีเหลือง มีอายุประมาณ 5,000 ล้านปี เป็นดาวฤกษ์หลัก อยู่ในช่วงกลางของชีวิต ในอีก 5,000 ล้านปี ดวงอาทตย์จะจบ ชีวิตลงด้วยการขยายตัวแต่จะไม่ระเบิด เพราะแรงโน้มถ่วงมีมากกว่าแรงดัน ในที่สุด ดวงอาทิตย์จะยุบตัวลงอย่างสงบกลายเป็นดาวขนาดเล็ก เรียกว่า ดาวแคระขาว
 การถ่ายทอดพลังงานจากแกนกลางสู่ผิวต้องผ่านชั้นที่อยู่เหนือแกนกลางที่ เรียกว่า แถบการแผ่รังสี ซึ่งเป็นแถบที่กว้างไกลมากเหนือแถบการแผ่รังสีคือ แถบการพา โดยการหมุนเวียนของก๊าซร้อน จุดบนดวงอาทิตย์ ผิวของดวงอาทิตย์ที่เราสังเกตได้เรียกว่า โฟโทสเฟียร์ ความร้อนและแสงสว่าง ตลอดทั้งพลังงานในช่วงคลื่นอื่น ๆ แผ่กระจายจากดวงอาทิตย์สู่อวกาศ โดยการแผ่รังสีบนผิวระดับโฟโทสเฟียร์มีบริเวณที่อุณหภูมิต่ำกว่าข้างเคียง จนสังเกตเห็นเป็น จุดดำ เรียกว่า จุดบนดวงอาทิตย์ จุดเหล่านี้ไม่ใช่ลักษณะที่มีอยู่อย่างถาวร เกิดแล้ว มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและขนาดเป็น กลุ่มจุด (spot groups) ซึ่งอาจมีเส้นผ่านศูนย์กลางยาวถึง 100,000 กิโลเมตร ถ้าขยายจุดที่พัฒนาเต็มที่แล้วจะพบว่ารอบนอกของจุดมีความสว่างมากกว่าส่วนใน เรียกส่วนในที่มืดกว่าว่า อุมบรา (umbra) และเรียกส่วนรอบนอกที่มัว ๆ ว่า พีนุมบรา (penumbra) บริเวณอุมบรามีอุณหภูมิประมาณ 2,000 องศาเซลเซียส บริเวณพีนุมบรามี อุณหภูมิสูงถึง 4,000 องศาเซลเซียส ในขณะที่ข้างเคียงอุณหภูมิสูงถึง 5,700 องศาเซลเซียส จุดบนดวงอาทิตย์จึงไม่ใช่จุดดับอย่างที่อาจจะเข้าใจกัน เพราะยัง ร้อนอยู่มาก จุดดวงอาทิตย์เกิดขึ้นและหายไปตามลำดับรูปร่างซึ่งเรยกว่าแบบซูริค A จนถึง J ของกลุ่มจุด (A-J Zurich Classification) ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มเกิดขึ้นถึงหายไป ยาวนานมากที่สุด 200 วัน เป็นกลุ่มจุดที่เกิดขึ้นระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2486 แต่ละกลุ่มจุดมีอายุต่าง ๆ กัน จุดเล็ก ๆ อาจมีอายุน้อยกว่า 1 ชั่วโมง
จุดบนดวงอาทิตย์มีประโยชน์ในการวัดอัตราการหมุนรอบตัวเองของดวงอาทิตย์ ซึ่งพบว่ามีคาบ 27.3 วัน (อัตราการหมุนรอบตัวเอง ณ บริเวณเส้นศูนย์สูตรของดวงอาทิตย์ยาว 24.6 วันต่อรอบ ที่ละติจูด 30 องศา 25.8 วัน ที่ละติจูด 60 องศา 30.9 วัน และที่ขั้ว 34.0 วัน) ในปี พ.ศ. 2433 มอนเดอร์ (E.W.Maunder) นักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษได้ตรวจสอบข้อมูลเก่า ๆ เกี่ยวกับจุดบนดวงอาทิตย์ และพบว่าระหว่างปี พ.ศ. 2188-2258 เป็นช่วงที่ดวงอาทิตย์ไม่ค่อยมีจุดเลย จีงไม่มีปีซึ่งมีจุดมากและปีซึ่งมีจุดน้อย การศึกษาต่อมาทำให้เชื่อว่า ช่วงเวลาดังกล่าว ดวงอาทิตย์มีบรรยากาศที่เรียกว่า คอโรนา น้อยหรือไม่มีเลย
มีเรื่องน่าสนใจที่อาจเกี่ยวข้องกับดวงอาทิตย์ คือ การผันแปรของภูมิอากาศในประเทศอังกฤษในทศวรรษปี พ.ศ. 2223 กล่าวคือ น้ำในแม่น้ำเทมส์กลายเป็นน้ำแข็งอยู่เป็นประจำ และไม่เห็นแสงเหนือเลยฮัลเลย์ บันทึกไว้ว่าเขาเห็นแสงเหนือเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2259 หลังจากเผ้าคอยดูมาเป็นเวลา 40 ปี อาจเคยมีช่วงที่ดวงอาทิตย์ไม่มีจุดในระหว่าง พ.ศ. 1943 ถึง 2053 แต่หลักฐานการบันทึกไม่สมบูรณ์ อย่างไรก็ตามมีผู้ตรวจสอบวงปีของต้นไม้ต้นหนึ่ง ซึ่งมีอายุอยู่ระหว่างประมาณ 268 ปีก่อนพุทธศักราช ถึง พ.ศ. 2457 พบว่าการเจริญเติบโตของต้นไม้ได้รับผลกระทบจากจุดบนดวงอาทิตย์ด้วย และมีช่วงที่ดวงอาทิตย์มีจุดน้อยดังการพบของมอนเดอร์ ดังนั้นจึงเรียกช่วงระยะเวลายาวนานราว 100 ปี ที่ดวงอาทิตย์ไม่มีจุดหรือมีจุดน้อยนี้ว่าจุดต่อของมอนเดอร์
ที่มา: http://www.vcharkarn.com/vcafe/26397
ตอบ 4





สืบค้นข้อมูล  เพราะฮิปปาร์คัสได้กำหนดหน่วยความสว่างของดวงดาวว่า โชติมาตร (Maginitude) ตามหลักการจัดลำดับความสว่างของดวงดาว ดาวที่มีค่าตัวเลขมากจะมีความสว่างน้อย ส่วนดาวที่มีค่าตัวเลขน้อยจะมีความสว่างมาก
ที่มา: ใบข้อสอบเฉลย o-net ปี2549
ตอบ 4


สืบค้นข้อมูล ปีแสง คือ หน่วยของระยะทางในทางดาราศาสตร์ 1 ปีแสง เท่ากับระยะทางที่แสงเดินทางในเวลา 1 ปี จากอัตราเร็วแสงที่มีค่า 299,792.458 กิโลเมตร/วินาที ระยะทาง 1 ปีแสงจึงมีค่าประมาณ 9.4607×1012 กิโลเมตร = 63,241.077 หน่วยดาราศาสตร์ = 0.30660 พาร์เซก เนื่องจากเอกภพมีขนาดมหึมา แสงจากวัตถุท้องฟ้าที่อยู่ไกลจึงใช้เวลาหลายปีกว่าจะเดินทางมาถึงเรา นั่นหมายความว่าเราเห็นอดีตของวัตถุนั้นอยู่ตลอดเวลา
ตอบ 1




3 ความคิดเห็น: