กิจกรรม 10 พฤศจิกายน 2553

ส่งงาน









     สืบค้นข้อมูล คลื่นความไหวสะเทือนเป็นผลจากกระบวนการเคลื่อนที่และแยกตัวของแผ่นธรณีภาค/แผ่นเปลือกโลก ตำแหน่งที่กำเนิดคลื่น ความไหวสะเทือนใต้ผิวโลก เรียกว่าศูนย์การเกิดแผ่นดินไหว (focus) โดยที่ตำแหน่งบนผิวโลกที่อยู่เหนือจุดโฟกัสเรียกว่าอีพิเซ็นเตอร์ (epicenter) คลื่นความไหวสะเทือนที่ออกมาจากศูนย์เกิดแผ่นดินไหวมี 2 ประเภท คือ
          - คลื่นปฐมภูมิ (primary waves: P-waves)
          - คลื่นทุติยภูมิ (secondary waves: S-waves)
     การกำหนดตำแหน่งของแผ่นดินไหวและการตรวจวัดทำโดยใช้เครื่องตรวจวัดคลื่นแผ่นดินไหวที่ เรียกว่า ไซสโมมิเตอร์ (seismometer) โดยข้อมูลจะถูกบันทึกลงและแปรผลเพื่อให้ทราบถึงลักษณะของวัตถุที่คลื่นเคลื่อนผ่านมา

  สำหรับภัยแผ่นดินไหวในประเทศไทยนั้น ค่อนข้างโชคดีด้วยลักษณะภูมิประเทศและที่ตั้งของประเทศไทยไม่ได้ตั้งอยู่แนวแผ่นดินไหวของโลก   แนวที่ใกล้ที่สุดอยู่ในประเทศพม่า  ทะเลอันดามัน และด้านตะวันตกของเกาะสุมาตรา  ซึ่งค่อนข้างมีระยะห่างจากแหล่งชุมชนของประเทศไทยมาก  ดังนั้นประเทศไทยจึงถูกจัดอยู่ในบริเวณที่มีภัยแผ่นดินไหวระดับต่ำจนถึงปานกลาง  ซึ่งสามารถยืนยันจากข้อมูลในประวัติศาสตร์และสถิติอดีตที่ผ่านมาประมาณ 700-800 ปีประเทศไทยยังไม่เคยมีประวัติความเสียหายรุนแรงจากแผ่นดินไหวที่มีศูนย์กลางในประเทศ ยกเว้นกรณีเมืองโยนกนคร ในภาคเหนือ ซึ่งมีประวัติความเสียหายรุนแรงเมื่อพันกว่าปีที่ผ่านมา 
              อย่างไรก็ตาม แม้ว่ายังไม่เคยเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในประเทศไทย แต่พบว่าแผ่นดินไหวขนาดระดับปานกลาง ต่ำกว่า  6.0 ริกเตอร์อาจเกิดใกล้แหล่งชุมชนได้ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายกับสิ่งก่อสร้างที่ไม่แข็งแรงและไม่ได้ออกแบบสร้างให้ต้านทานต่อแผ่นดินไหวในพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหวซึ่งส่วนใหญ่อยู่ใกล้รอยเลื่อนมีพลัง
  ที่มา: http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/earth-science/chapter1_3.html
  ตอบ 2











 สืบค้นข้อมูล    รอยต่อธรณีภาค   เป็นรอยตะเข็บเก่าๆดั้งเดิมที่เกิดจากการชนกันของแผ่นเปลือกโลก2แผ่นขึ้นไปที่มีความแตกต่างกันทางธรณีประวัติชนิดหินซากดึกดำบรรพ์ลักษณะสำคัญของรอยตะเข็บนี้คือ จะมีหินหรือตะกอนหินที่มาจากพื้นมหาสมุทรเท่านั้นโผล่ขึ้นมาเช่นหินที่พบในOceanicfloorหินเชิร์ตน้ำลึกเม็ดแร่แมงกานีสซึ่งหินดังกล่าวไม่สามารถพบได้ง่ายในแผ่นดินทั่วไป ซึ่งที่หินพวกนี้โผล่ขึ้นมาได้ก็เพราะการชนกัน ทำให้เกิดการเกย การยู่ยี่และบีบตัวของแผ่นมหาสมุทรที่อยู่ตรงกลางแบบกล้วยทับถูกเหยียบ นอกจากนี้ยังพบว่าใกล้รอยตะเข็บมักพบหินภูเขาไฟเดิมเป็นเทือกอีกด้วย      ในประเทศไทย รอยต่อธรณีที่ชัดเจนและยอมรับกันมากที่สุดได้แก่ รอยต่อธรณีน่าน-อุตรดิตถ์ สระแก้ว-จันทบุรีและแถบนราธิวาส
          ประโยชน์ของรอยต่อ คือจะมีแร่ธาตุที่พบเฉพาะใน ท้องทะเลลึก สะสมตัวอยู่เช่น โครไมต์ แมงกานีส และก็ยังมีแร่ที่เกิดจากการเฉือนเช่น ทัลก์ แอสเบตทอส
และยังเป็นสถานที่ที่ศึกษาลักษณะของท้องทะเลลึกได้โดยไม่ต้องดำน้ำเป็นกิโลๆ

    รอยต่อของแผ่นธรณี   เมื่อนำแผ่นภาพแต่ละทวีปมาต่อกัน จะเห็นว่ามีส่วนที่ต่อกันได้พอดี เช่น ขอบตะวันออกของอเมริกาใต้สามารถต่อกับขอบตะวันตกของทวีปแอฟริกาใต้ได้อย่างพอดี ซึ่งเป็นเหตุผลที่สามารถตั้งเป็นสมมติฐานได้ว่า ทวีปทั้งสองอาจเป็นแผ่นดินผืนเดียวกันมาก่อน แล้วต่อมาก็แยกออกจากกันโดยเคลื่อนไปทางทิศตะวันออกส่วนหนึ่ง และทิศตะวันตกอีกส่วนหนึ่ง จนกลายเป็นมหาสมุทรแอตแลนติกเข้ามาแทนที่ตรงรอยแยก และแผ่นทวีป ก็มีการเคลื่อนตัวแยกไปเรื่อย ๆ จนปรากฏเป็นตำแหน่ง และรูปร่างของทวีปทั้งสองดังปัจจุบัน

  ตอบ 1


สืบค้นข้อมูล  แผ่นดินไหวเป็นภัยธรรมชาติอย่างหนึ่งที่ก่อให้เกิดความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินอย่างมหาศาล  จากประวัติการเกิดแผ่นดินไหวในอดีตที่ผ่านมา  มีผู้เสียชีวิตนับแสนคนในประเทศที่อยู่ในเขตแผ่นดินไหว  เช่น  จีน  และญี่ปุ่น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งแผ่นดินครั้งล่าสุดที่เมืองโกเบ ประเทศญึ่ปุ่นได้เกิดความเสียหายรุนแรงต่ออาคารบ้านเรือนทางด่วนและระบบสาธารณูปโภคมากกว่าที่คาดไว้ แม้ว่าจะได้ออกแบบก่อสร้าง ให้เผื่อแรงแผ่นดินไหวตามกฎหมายที่บังคับไว้แล้วก็ตาม  ประเทศไทยถึงจะไม่ได้อยู่ในบริเวณแผ่นดินไหวใหญ่ของโลก  แต่จากการเกิดแผ่นดินไหวขึ้นหลายครั้งโดยมีศูนย์กลางทั้งในและนอกประเทศบางครั้งส่งแรงสั่นสะเทือนรู้สึกได้โดยทั่วไป และเกิดความเสียหายเล็กน้อยแก่อาคาร เช่น แผ่นดินไหวเมื่อวันที่  17  กุมภาพันธ์  2518  ขนาด  5.6  ริคเตอร์  ที่จังหวัดตาก  เมื่อวันที่  22  เมษายน  2526  ขนาด  5.9  ริคเตอร์  ที่จังหวัดกาญจนบุรี  และครั้งล่าสุดแผ่นดินไหวเมื่อวันที่  11  กันยายน  2537  ขนาด  5.1  ริคเตอร์  ที่จังหวัดเชียงราย  ได้ทำให้อาคารโรงพยาบาลพานเสียหายหนักถึงขึ้นระงับการใช้อาคาร  โรงเรียนและวัดหลายแห่งเสียหายเล็กน้อย จนถึงเสียหายปานกลางปัจจุบันประเทศไทย ได้มีการก่อสร้างอาคารสูงและสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่มากมายตลอดจนมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และจำนวนประชากรของประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว  ทำให้ประเทศไทยมีอัตราการเสี่ยงต่อการเกิดภัยจากแผ่นดินไหวสูงขึ้น  ด้วยเหตุนี้การศึกษาข้อมูลแผ่นดินไหวในประเทศไทย  จะทำให้ทราบถึงภูมิหลังและลักษณะของการเกิดแผ่นดินไหว  ตลอดจนสาเหตุของแผ่นดินไหวและรอยเลื่อนต่างๆ  ที่คาดว่าเป็นแหล่งกำเนิดของแผ่นดินไหว  นอกจากนั้นการศึกษาความรุนแรงของแผ่นดิน
ไหว  นอกจากนั้นการศึกษาความรุนแรงของแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในอดีต  จะเป็นแนวทางในการจัดทำแผนที่แบ่งเขตแผ่นดินไหวและแผนที่นี้จะเป็นตัวกำหนดค่าความเสี่ยงของภัยจากแผ่นดินไหวในพื้นที่ต่างๆ  ของประเทศ  สำหรับที่จะนำไปใช้ในการออก
กฎกระทรวงว่าด้วยแรงแผ่นดินไหว  เพื่อควบคุมการก่อสร้างต่างๆ  ให้สามารถต้านทานแรงแผ่นดินไหวได้อย่างเหมาะสม
   สาเหตุของแผ่นดินไหว
แผ่นดินไหวเป็นปรากฎการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดจากแรงเครียดภายในโลก  ซึ่งเกิดจากอุณหภูมิที่ต่างกันอย่างมากระหว่างเปลือกโลก  และหินหลอมภายในโลกเมื่อแรงนี้กระทำต่อหินแข็งภายในโลกจะทำให้หินแตกออกเป็นแนว  เรียกว่า  แนวรอยเลื่อน(Fault)  เมื่อรอยเลื่อนนี้ขยับตัวก็จะปล่อยพลังงานออกมาอยู่ในรูปของการสั่นไหว  ซึ่งก็คือแผ่นดินไหวนั่นเอง  โดยปรกติรอยเลื่อนจะอยู่ลึกลงไปใต้ผิวโลกไม่ปรากฎให้เห็นที่ผิวดิน  แต่มีเหมือนกันที่ปรากฎให้เห็นชัดเจน  เช่น  รอยเลื่อนชานแอนเดรสที่แคลิฟอร์เนีย
บริเวณรอยเลื่อนเคลื่อนตัวนี้  จะเป็นที่รวมของศูนย์กลางแผ่นดินไหวมากมาย  ในประเทศไทยมีรอยเลื่อนที่คาดว่ายังมีการเคลื่อนตัวอยู่ในภาคตะวันตกและภาคเหนือของประเทศ  เช่น  รอยเลื่อนเมย - อุทัยธานี  รอยเลื่อนด่านเจดีย์สามองค์  รอยเลื่อนแม่ทา  และ รอยเลื่อนเหล่านี้จำเป็นต้องมีการศึกษาลักษณะการเคลื่อนตัว  ตลอดจนโอกาสที่จะเกิดแผ่นดินไหวซ้ำอีก  และขนาดแผ่นดินไหวสูงสุดที่ควรจะเกิดในแต่ละรอยเลื่อน  เพื่อการวางแผนป้องกันภัยอันอาจจะเกิดขึ้น ในบริเวณที่มีอัตราเสื่ยงต่อแผ่นดินไหวสูง
    เมื่อเกิดแผ่นดินไหวขึ้นพื้นดินจะถูกรบกวน  และเคลื่อนออกจากจุดกำเนิดในรูปของคลื่นความสั่นสะเทือน  เหมือนกับการโยน
กรวดลงในน้ำ  พื้นน้ำจะถูกคลื่นพัดพาไปเป็นระลอกจนกระทบฝั่ง  คลื่นแผ่นดินไหวก็เช่นเดียวกัน  จะคลื่นที่ไปจนกระทั่งพลังงานหมด
ไป  ฉะนั้นถ้าเรามีเครื่องมือที่มีความไวพอ  ก็สามารถตรวจจับแผ่นดินไหวในระยะห่างไกลได้  เครื่องตรวจแผ่นดินไหวนี้จะมีประโยชน์
ในการหาตำแหน่ง  ขนาด  และความลึกของแผ่นดินไหวในแต่ละครั้งได้  หากมีสถานีตรวจเกินสามแห่งขึ้นไป  ปัจจุบันกรมอุตุนิยม
วิทยามีสถานีตรวจแผ่นดินไหว 12  แห่ง  คือ  สถานีเชียวใหม่, สถานีเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก, สถานีนครสวรรค์, สถานีปากช่อง จังหวัด,
นครราชสีมา, สถานีอุบลราชธานี, สถานีเลย, สถานีเขื่อนเขาแหลม จังหวัดกาญจนบุรี, สถานีหนองพลับ ประจวบคีรีขันธ์, สถานีสงขลา,
สถานีภูเก็ต และสถานีน่าน
    นอกจากนั้นยังมีเครื่องมืออีกชนิดหนึ่งที่ตรวจวัดอัตราเร่งของพื้นดิน  เรียกว่า  Strong Motion Accelerograph  (SMA)  ติดตั้ง
ตามเขื่อนใหญ่ๆ อาคารสูงใน กทม. และเชียงใหม่

  ขนาดและความรุนแรงแผ่นดินไหว
    
ขนาดแผ่นดินไหวคือ  การวัดจำนวนหรือพลังงาน  ซึ่งปลดปล่อยออกมาที่ศูนย์กลางแผ่นดินไหว  หาได้โดยการวัดความสูงของคลื่น
แผ่นดินไหวที่บันทึกได้ด้วยเครื่องตรวจแผ่นดินไหว  แล้วคำนวณในสูตรการหาขนาด  ซึ่งคิดค้นโดยนักแผ่นดินไหวชาวเยอรมันชื่อ
นายซีเอฟ  ริคเตอร์ (C.F. Richter)  เราจึงใช้หน่วยของขนาดแผ่นดินไหวว่า  "มาตราริคเตอร์"
    สูตรเบื้องต้นในการคำนวณขนาดคือ  M = Log A - Log Ao  ซึ่งอยู่ในรูปของพลคณิต  ฉะนั้นขนาดแผ่นดินไหวต่างกัน 1 ชั้น  จะ
มีค่าต่างกัน 10 เท่า  นั่นคือแผ่นดินไหวขนาด  8  ริคเตอร์  มีค่าเป็น  10  เท่าของขนาด  7  ริคเตอร์  และ 100  เท่าของขนาด 6
ริคเตอร์  เป็นต้น  แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่สุด  วัดได้  8.9  ริคเตอร์  ที่ประเทศญี่ปุ่น  เมื่อปี ค.ศ. 1933
    ขนาดแผ่นดินไหว  (Magntude)  มิได้หมายถึง  ความรุนแรงแผ่นดินไหว  (Intensity)  ไปด้วย  เช่น  แผ่นดินไหวปี ค.ศ.1933
มีขนาด  8.9  ริคเตอร์  แต่มีผู้เสียชีวิตเพียง  3,000  คน  เท่านั้น  เปรียบเทียบกับปี  ค.ศ.1976  แผ่นดินไหวที่จีนมีขนาดเล็กลงมา
คือ  8.2  ริคเตอร์  แต่เสียชีวิตถึง  250,000 คน  ที่เป็นเช่นนี้เพราะขนาดแผ่นดินไหวจะคงที่ในแผ่นดินไหวแต่ละครั้ง  แต่ความรุน
แรงจะแตกต่างไปตามระยะทาง  สภาพทางธรณีวิทยา  และมาตรฐานการก่อสร้าง
    "ความรุนแรงแผ่นดินไหว"  วัดได้โดยใช้ความรู้สึกว่ามีการสั่นสะเทือนมากน้อยเพียงใด  ดูความเสียหายต่ออาคารและสิ่งก่อสร้าง
ต่างๆ และเปรียบเทียบกับมาตราวัดอันดับความสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว  เช่น  เมื่อวันที  22  เมษายน  2526  วัดขนาดแผ่นดินไหว
ได้  5.9  ริคเตอร์  ซึ่งมีขนาดเดียว  แต่ความรุนแรงในแต่ละแห่งจะไม่เท่ากัน  เช่นที่กรุงเทพฯ  ความรุนแรงอยู่ในอันดับ 5 ตาม
"มาตราเมอร์แคลลี"  หมายความว่า  ชาวกรุงเทพฯ รู้สึกว่าเกิดแผ่นดินไหวกันได้เกือบทุกคน  หลายคนตื่นตระหนก  ถ้วยชามแตก  น้ำ
กระฉอกออกจากแก้วหรือภาชนะ  ซึ่งแน่นอนย่อมมีความรุนแรงต่างออกไปจากบริเวณที่อยู่ศูนย์กลาง  หรือบริเวณที่อยู่ห่างไกลออกไปจาก
บริเวณที่อยู่ศูนย์กลาง  หรือบริเวณที่อยู่ห่างไกลออกไป

ที่มา:http://www.thaihomemaster.com/showinformation.php?TYPE=11&ID=289
ตอบ 1




สืบค้นข้อมูล   ภูเขาไฟมีพลัง (active volcano) หมายถึง ภูเขาไฟที่มีการระเบิดค่อนข้างถี่ และอาจจะระเบิดอีก โดยมีประวัติการระเบิดไม่เกิน 10,000 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันนี้ทั่วโลกยังภูเขาไฟที่มีพลังอยู่ประมาณ 1,300 ลูก เป็นภูเขาไฟที่เคยมีประวัติถูกบันทึกว่ามีการระเบิดเกิดขึ้น จัดว่าเป็นภูเขาไฟยังมีพลังอยู่ เช่น ภูเขาไฟเอตนา(Mount Etna) ตั้งอยู่ในประเทศอิตาลีบนเกาะซิชิลี ห่างจากเมืองกาตาเนียเพียง 29 กิโลเมตร เป็นภูเขาไฟที่ยังไม่ดับที่สูงที่สุดในทวีปยุโรป มีความสูง 3,323 เมตร วัดฐานโดยรอบได้ 150 เมตร บนยอดมีหิมะปกคลุมปีละเก้าเดือน
ซึ่ง O-NET ปี 52 ถามเรื่องนี้ ฉะนั้นต้องตอบ 1000 ลูก
ที่มา: http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87
ตอบ 2




สืบค้นข้อมูล  ดาวฤกษ์แต่ละดวงมีความเหมือนกันอยู่ 2 อย่าง คือ
1)      มีพลังงานในตัวเอง
2)     เป็นแหล่งกำเนิดธาตุต่างๆ เช่น ธาตุฮีเลียม ลิเทียม และเบริลเลียม
ดาวฤกษ์แต่ละดวงมีความแตกต่างกันดังนี้ คือ มวล อุณหภูมิผิว สี อายุ องค์ประกอบทางเคมี ขนาด ระยะห่าง ความสว่าง ระบบดาว และการวิวัฒนาการ
ดาวฤกษ์ที่อยู่ในกลุ่มดาวฤกษ์เดียวกัน จะอยู่ห่างจากโลกเท่ากัน เพราะการกำหนดรูปร่างของกลุ่มดาว จะถือเอาดาวฤกษ์ที่สว่างบางดวงในกลุ่มดาวแต่ละกลุ่มเป็นตัวกำหนด ทำให้แพรัลแลกซ์หรือความเหลื่อมของมุมในกลุ่มดาวฤกษ์เท่ากัน จึงอยู่ห่างจากโลกเท่านั้น
ตอบ 4

สืบค้นข้อมูล ดวงอาทิตย์ เป็นดาวฤกษ์ที่เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะของเรา ดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์แคระ ดาวเคราะห์น้อย และดาวหาง ล้วนแล้วแต่โคจรรอบดวงอาทิตย์ทั้งสิ้น ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ที่สำคัญยิ่งต่อโลก เช่น ให้พลังงานแก่พืชในรูปของแสง และพืชก็เปลี่ยนแสงให้เป็นพลังงานในการตรึงแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นน้ำตาล ตลอดจนทำให้โลกมีสภาวะอากาศหลากหลาย เอื้อต่อการดำรงชีวิต

ดวงอาทิตย์ประกอบด้วยไฮโดรเจนอยู่ร้อยละ 74 โดยมวล ฮีเลียมร้อยละ 25 โดยมวล และธาตุอื่นๆ ในปริมาณเล็กน้อย ดวงอาทิตย์จัดอยู่ในสเปกตรัม G2V ซึ่ง G2 หมายความว่าดวงอาทิตย์มีอุณหภูมิพื้นผิวประมาณ 5,780 เคลวิน (ประมาณ 5,515 องศาเซลเซียส หรือ 9,940 องศาฟาเรนไฮ) ดวงอาทิตย์จึงมีสีขาว แต่เห็นบนโลกเป็นสีเหลือง เนื่องจากการกระเจิงของแสง ส่วน V (เลข 5) บ่งบอกว่าดวงอาทิตย์อยู่ในลำดับหลัก ผลิตพลังงานโดยการหลอมไฮโดรเจนให้เป็นฮีเลียม และอยู่ในสภาพสมดุล ไม่ยุบตัวหรือขยายตัว
ดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากศูนย์กลางดาราจักรทางช้างเผือกเป็นระยะทางโดยประมาณ 26,000 ปีแสง ใช้เวลาโคจรครบรอบดาราจักรประมาณ 225-250 ล้านปี มีอัตราเร็วในวงโคจร 215 กิโลเมตรต่อวินาที หรือ 1 ปีแสง ทุกๆ 1,400 ปี
ที่มา:http://th.wikipedia.org/wiki/ดวงอาทิตย์
ตอบ 2










สืบค้นข้อมูล ( ขึ้น 15 ค่ำ ) โดยโลกอยู่ระหว่างดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์ ทำให้เงาของโลกไปบังดวงจันทร์
การเกิดจันทรุปราคา หรือเรียกอีกอย่างว่า จันทคราส คือ ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในคืนวันเพ็ญ ( ขึ้น 15 ค่ำ) เมื่อดวงจันทร์โคจรมาอยู่ในระนาบเส้นตรงเดียวกับโลกและดวงอาทิตย์ทำให้เงาของโลกบังดวงจันทร์คนบนซีกโลกซึ่งควรจะเห็นดวงจันทร์เต็มดวงในคืนวันเพ็ญจึงมองเห็นดวงจันทร์ในลักษณะต่างๆ เช่น “ จันทรุปราคาเต็มดวง” เกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์เคลื่อนเข้าไปในเงามืดของโลก จึงทำคนบนซีกโลกที่ควรเห็นดวงจันทร์เต็มดวง กลับเห็นดวงจันทร์ซึ่งเป็นสีเหลืองนวลค่อยๆ มืดลง กินเวลาประมาณ 1.5 ชั่วโมง จากนั้นจึงจะเห็นดวงจันทร์ เป็นสีแดงเหมือนสีอิฐเต็มดวง เพราะได้รับแสงสีแดงซึ่งเป็นคลื่นที่ยาวที่สุดและบรรยากาศโลกหักเหไปกระทบกับดวงจันทร์ ส่วน “ จันทรุปราคาบางส่วน” เกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์เคลื่อนที่เข้าไปในเงามือของโลกเพียงบางส่วน จึงทำให้เห็นดวงจันทร์เพ็ญบางส่วนมืดลงและบางส่วนมีสีอิฐขณะเดียวกันอาจเห็นเงาของโลกเป็นขอบโค้งอยู่บนดวงจันทร์ซึ่งเป็นข้อพิสูจน์ว่าโลกกลม
ผลกระทบ การเกิดจันทรุปราคาไม่ค่อยส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติเพราะเป็นช่วงกลางคืน แต่คนสมัยก่อนมีความเชื่อเช่นเดียวกับการเกิดสุริยุปราคา โดยเชื่อว่า “ราหูอมจันทร์” ซึ่งจะนำความหายนะ และภัยพิบัติมาสู่โลก คนจีนและคนไทยจึงแก้เคล็ดคล้ายกันเช่น ใช้วิธส่งเสียงขับไล่ คนจีนจุดประทัด ตีกะทะ ส่วนคนไทยก็เล่นกันก็ตีกะลา เอาไม้ตำน้ำพริกไปตีต้นไม้ เอาผ้าถุงไปผูกเพื่อล้างความโชคร้ายและให้ราหูโลกอมจันทร์”
ตอบ 2









สืบค้นข้อมูล สถานีอวกาศขึ้นมาด้วยจุดประสงค์หลักคือ การศึกษาถึงปรากฏการณ์ต่างๆในห้วงอวกาศ การทดลองทางวิทยาศาสตร์ในบรรยากาศที่มีแรงโน้มถ่วงน้อย และศึกษาถึงการใช้ชีวิตและการทำงานที่เกิดขึ้นในสภาพไร้น้ำหนัก ฯลฯ
     ความคิดที่จะสร้างสถานีอวกาศเริ่มเป็นจริงเป็นจังขึ้นมาครั้งแรกในปี ในช่วง ค.ศ. 1971 ถึง 1882 เมื่อสหภาพโซเวียตในขณะนั้น ได้ดำเนินการก่อสร้างสถานีอวกาศซัลยุต (Salyut) ซึ่งถือว่าเป็นสถานีอวกาศแห่งแรกของมนุษย์เราโดยได้ทำการปล่อยให้สถานีอวกาศซัลยุตขึ้นไปโคจรอยู่รอบโลกเราในปีค.ศ. 1971 สหรัฐอเมริกามหาอำนาจอีกประเทศหนึ่งก็ไม่ยอมน้อยหน้าสร้างสถานีอวกาศของตนเองขึ้นมาในเวลาที่ไล่เลี่ยกัน โดยในปีค.ศ. 1973 สหรัฐอเมริกาได้ส่งสถานีอวกาศสกายแล็บ (Skylab) ขึ้นไปยังอวกาศบ้างจากนั้นสองมหาอำนาจก็พยายามห่ำหั่นขันแข่งกันเพื่อให้ตัวเองก้าวเป็นผู้นำเกี่ยวกับวิทยาการทางด้านอวกาศ
        สหภาพโซเวียตนั้นมีความปรารถนาอย่างยิ่งยวดในการเป็นผู้นำของเรื่องสถานีอวกาศในขณะที่สหรัฐอเมริกานั้นเริ่มหันเหความสนใจและทุ่มเทความรู้ความสามารถในทางด้านการสร้างกระสวยอวกาศเพื่อเน้นในทางขนถ่ายสรรพสิ่งออกสู่ห้วงอวกาศแทน 

ที่มา:http://www.vcharkarn.com/varticle/38350
ตอบ 3











สืบค้นข้อมูล กระสวยอวกาศ คือ เครื่องบินอวกาศ มันทะยานขึ้นเหมือนจรวดและไปโคจรรอบโลก มันมีปีกและตอนกลับสู่โลกมันจะร่อนลงตามรันเวย์ กระสวยอวกาศสามารถนำมาใช้ได้หลาย ๆ ครั้ง
         ส่วนสำคัญของกระสวยอวกาศ เรียกว่า ออร์บิเตอร์ (orbiter) มันจะพาลูกเรือและสัมภาระไปยังอวกาศใสขณะที่จะส่งกระสวยอวกาศขึ้นไป กระสวยจะอยู่ที่ฐานส่งโดยจะตั้งชี้ขึ้นไปคล้ายจรวด ข้าง ๆออร์บิเตอร์จะมีแท้งค์น้ำมันขนาดใหญ่ ซึ่งเรียกว่า แท้งค์ด้านนอก (External Tank) ซึ่งมันจะเก็บออกซิเจนและไฮโดรเจนในขณะที่มันขึ้นเชื้อเพลิงเหล่านี้จะถูกสูบเข้าไปยังเครื่องยนต์หลัก 3 เครื่อง ของออร์บิเตอร์ นอกจากนี้ยังมีแท้งค์ขนาดเล็กที่อยู่ข้าง ๆ ออร์บิเตอร์บนฐานส่งเพื่อให้แรงผลักดันพิเศษในขณะส่งกระสวยขึ้น ซึ่งเรียกว่า Solid Fuel Rocket Booster หรือ SRB มันทำงานคล้ายกับจรวดดอกไม้ไฟขนาดใหญ่

ที่มา:http://learn.chanpradit.ac.th/nuch/nudee/H12.html
ตอบ 3

3 ความคิดเห็น: